Autotirechecking สเปคและราคายางอัพเดตล่าสุด TOP CHART ยางรถยนต์ - ยางรถยนต์ขอบ 13" - ยางรถยนต์ขอบ 14 " - ยางรถยนต์ขอบ 15 " - ยางรถยนต์ขอบ 16 " - ยางรถยนต์ขอบ 17 " - ยางรถยนต์ขอบ 18 " - ยางรถยนต์ขอบ 19 " - ยางรถยนต์ขอบ 20 " - ยางรถยนต์ขอบ 21 " - ยางรถยนต์ขอบ 22 " ราคาและสเปคล้อแม็ก ราคาและสเปคแบตเตอรี่ ตารางผ่อนรถ โปรโมชั่น - โปรโมชั่นยางรถยนต์ขอบ 14 " - โปรโมชั่นยางรถยนต์ขอบ 15 " - โปรโมชั่นยางรถยนต์ขอบ 16 " - โปรโมชั่นยางรถยนต์ขอบ 17 " - โปรโมชั่นยางรถยนต์ขอบ 18 " ติดต่อโฆษณา

เปลี่ยนล้อเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า

ปัจจุบันล้อ และยางเปรียบเสมือนเนื้อคู่ที่ไม่เคยห่างกัน มียางต้องมีล้อ มีล้อต้องมียาง อนาคตอันใกล้นี้เราจะเข้าไปสู่ยุคที่จะนำระบบไฟฟ้าเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ในด้านยานยนต์นี้ยิ่งเห็นได้ชัด ตัวอย่างง่ายๆ คือ การก้าวจากเครื่องยนต์ที่ต้องใช้การสันดาปภายใน(การจุดระเบิด) ไปเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ล้อ และยางรถยนต์ในอนาคตก็เช่นกัน

เปลี่ยนล้อเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า

 

ล้อ และยาง ใช้พลังการกลสร้างการเคลื่อนที่ แต่ในอนาคตจะใช้ไฟฟ้าเข้าทดแทนโดยการใช้หลังของมอเตอร์ไฟฟ้ามาออกแบบการทำงานได้อย่างชาญฉลาด ด้วยส่วนประกอบหลักเหมือนมอเตอร์ไฟฟ้า การใช้งานสนามแม่เหล็กในการเหนี่ยวนำการหมุน โดยมีแหล่งพลังงานคือแบตเตอรี่ เทคโนโลยีนี้อาจเป็นคำตอบที่ดีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตก็ว่าได้

เปลี่ยนล้อเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า

 

เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปใน สเตเตอร์ ที่อยู่นิ้งกับเพลาขับ จะเกิดการเหนี่ยวนำ อาร์เมเจอร์ ที่ติดอยู่กับล้อส่วนเคลื่อนที่ ทำให้เกิดการหมุน แต่การพัฒนาล้อให้เป็นระบบไฟฟ้านี้จะต้องมีการควบคุมโดยใช้โมดุลเหมือนกับ ECM ของรถยนต์ในการควบคุม โดยสมองกลจะจับเซ็นเซอร์หลักๆ เช่น แรงดันลมยาง ,ความเร็วล้อทั้ง 4 วง ,แรงดันเบรค และเชื่อมต่อกับกล่องควบคุมการทรงตัว เพื่อการปรับเปลี่ยนสถานะได้อย่างเหมาะสม

เปลี่ยนล้อเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า

 

นอกจากนั้นยังมีการออกแบบยุบเอาช่วงล้างของรถยนต์เข้ามารวมไว้ในล้อด้วยโดยใช้เป็นระบบไฟฟ้าทั้งหมดเพื่อการนำข้อมูลไปประมวลผลในโมดุลสมองกล และสั่งงานออกมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น ตัวอย่างที่กำลังจะเสนอให้ชมกันเป็นการพัฒนาโปรเจค eCorner จาก Siemens

ส่วนประกอบที่ 1 คือ ส่วนที่สามารถขยับได้ส่วนนี้ถ้าเทียบกับมอเตอร์ก็ คือ แกนอาร์เมเจอร์ เมื่อถูกเหนี่ยวนำแล้วตัวชิ้นส่วนที่ 1 จะหมุนไปพร้อมกับยางที่สวมใส่อยู่นั้นเอง

ส่วนประกอบที่ 2 คือ ส่วนที่จะเป็นตัวเชื่อมต่อกับเพลาขับ และคอม้า เปรียบได้เหมือน สเตเตอร์ ในชิ้นส่วนของมอเตอร์ทำหน้าที่เหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กในการหมุนล้อนั้นเอง

ส่วนประกอบที่ 3 คือ โมดุลในการควบคุมโดยเจ้าโมดุลนี้จะทำงานเป็นสมองกลรับข้อมูลจาก เซ็นเซอร์ที่เกี่ยวข้องมาประมวลผล และสั่งการประมวลผลคำนวนค่าโดยรวมก่อนจะส่งไปที่ กล่องควบคุมสมดุล (Chassis controller) เป็นตัวสังงานการขยับช่วงล้างต่อไป

ส่วนประกอบที่ 4 คือ โช๊คอัพ และสปริงค์ สปริงค์จะถูกยุบรวมมาอยู่ด้านในล้อเป็นตัวเชื่อมระหว่างบีกนก และคอม้า หน้าที่ คือ การให้ตัวกลับมาสู่จุดเริ่มแรกในการเซ็ตติ้ง ส่วนโช๊คอัพมีหน้าที่ดูดซับแรงรีบาวด์ของสปริงค์ทำให้เกิดความนุ่มนวล โดยจะเป็นโช๊คอัพระบบไฟฟ้าที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานะการ และการเลือกโหมดต่างๆ

ส่วนประกอบที่ 5 คือ ส่วนที่จะไปติดกับ Chassis ของรถยนต์ และแร็คพวงมาลัย

เปลี่ยนล้อเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า

เรามาดูการทำงานแบบภาพเคลื่อนไหวกันดีกว่าครับ เพื่อความเข้าใจกับการทำงานของเจ้า eCornerl จาก Siemens ตัวนี้กันมากขึ้น

เห็นไหมครับว่าอนาคตอยู่ใกล้เราแค่นิดเดียว eCorner เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งและส่วนเล็กที่ทางผู้ผลิตคิดค้นพัฒนาขึ้นมาในโลกยานยนต์นี้ ครั้งหน้าเราจะหาเทคโนโลยีดีๆมาเสนอกันใหม่ ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ

Top